ขั้นตอนการทำเลือดจระเข้แคปซูล

ขั้นตอนการทำเลือดจระเข้แคปซูล

ก่อนจะมาเป็นเลือดจระเข้แคปซูล

  1. คัดเลือกจระเข้ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง จากฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ได้รับการอนุญาตจาก กรมประมง อายุอย่างน้อย 3 ปี ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

  2. เจาะเก็บเลือดจระเข้ปริมาณมาก ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะด้วย 70% แอลกอฮอล เจาะเก็บเลือดโดยใช้อุปกรณ์และขวดโพลีโพรปิลีนที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค และภาชนะเก็บเลือดมีลักษณะปิด เพื่อให้ได้เลือดปริมาณมากที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย

  3. นำเลือดจระเข้ที่ได้มาทำการฆ่าเชื้อ ด้วยวิธี Pasturization ด้วย water bath ที่ 63 องศาเซลเซียส 30 นาที

  4. นำเลือดจระเข้มาทำระเหิดแห้งโดยใช้ Freeze-drier or lyophilizer (ที่อุณหภูมิ -50 องศาเซลเซียส) เพื่อรักษาคุณภาพขององค์ประกอบโปรตีนที่สำคัญในเลือดจระเข้

  5. นำเลือดจระเข้ระเหิดแห้ง มาบดให้ละเอียด โดยใช้โถบดสแตนเลส ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และบรรจุใน แคปซูล ภายในตู้ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย

  6. บรรจุใส่ขวดพีวีซีสีชาเพื่อป้องกันแสงและความร้อน

  7. ตรวจสอบคุณภาพ โดยหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักเลือดแห้งต่อแคปซูล ปริมาณแบคทีเรียที่ปนเปื้อน

เครื่องฟรีซดราย

ฟรีซดราย (Freeze Dried) คืออะไร?

เทคโนโลยีการทำแห้งเยือกแข็งแบบสูญญากาศ หรือศัพท์ทางภาษาอังกฤษที่เรียกว่า “ฟรีซดราย” (Freeze dried Technology) หมายถึงการทำแห้ง (dehydration) ด้วยการแช่เยือกแข็ง (freezing) ทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นผลึกน้ำแข็งก่อน แล้วจึงลดความดันเพื่อให้ผลึกน้ำแข็งระเหิด (sublimation) เป็นไอ ด้วยการลดความดันให้ต่ำกว่าบรรยากาศปกติ ขณะควบคุมให้อุณหภูมิต่ำ (ที่อุณหภูมิ เท่ากับหรือ ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส น้ำแข็งระเหิดที่ความดันเท่ากับ 4.7 มิลลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่า)

ขั้นตอนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง

ขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับการผลิตอาหารด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ก็เหมือนกับการผลิตอาหารแห้งโดยทั่วไป คือเริ่มจาการเตรียมวัตถุดิบให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น การล้าง การปอกเปลือก การลดขนาดจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการหลักซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ

  1. การแช่เยือกแข็ง (freezing) เป็นการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (freezing point) เพื่อให้เกิดผลึกน้ำแข็ง (ice crystal formation) อัตราเร็วของการแช่เยือกแข็ง (freezing rate) ควรเป็นการแช่เยือกแข็งแบบเร็ว เพื่อให้เกิดผลึกและผลึกที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็ก การแช่เยือกแข็งแบบเร็ว ที่นิยมใช้กันมีหลายวิธี เช่น การแช่เยือกแข็งแบบใช้ลมเย็นเป่า (air blast freezing) การแช่เยือกแข็งแบบไครโอเจน (cryogenic freezing) และการแช่เยือกแข็งแบบจุ่มในของเหลวเย็นจัด (immersion freezing) เป็นต้น

  2. การทำแห้งขั้นต้น (primary drying) เป็นการลดปริมาณน้ำ (dehydration) โดยการระเหิด น้ำแข็งให้เป็นไอโดยการลดความดันบรรยากาศ เพื่อให้ผลึกน้ำแข็งที่อยู่ภายในเกิดการระเหิดเป็นไอ ออกไปจากผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระดับของสุญญากาศ (vacuum) ควรอยู่ต่ำกว่า 132 Pa และ 132 mPa ตามลำดับ การระเหิดของผลึกน้ำแข็งจึงเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์การระเหิดของชั้นน้ำแข็ง (ice layer) จะเริ่มจากชั้นน้ำแข็งบริเวณผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระเหิดไปเป็นไอ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชั้นแห้ง (dry layer) จากนั้น เป็นการระเหิดของชั้นน้ำแข็งที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์ ระเหิดผ่านชั้นแห้ง ออกไปสู่ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาการระเหิด ขึ้นอยู่กับ ขนาด รูปร่าง และโครงสร้างของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด

  3. การทำแห้งขั้นที่สอง (secondary drying) เมื่อการทำแห้งขั้นต้นเสร็จสมบูรณ์ น้ำแข็งจะละลายไปหมด จะมีความชื้นที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องมีการทำแห้งด้วยการเพื่ออุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อดึงเอาความชื้นที่เหลืออยู่ออกถึงระดับความชื้นที่ปลอดภัย

ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่ผ่านกรรมวิธีการทำแห้งเยือกแข็งแบบสุญญากาศแล้วจะสามารถคงความเป็นต้นฉบับของอาหาร และ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า (NASA) ได้ใช้วิธีการ “ฟรีซดราย” นี้กับ อาหาร และผลไม้ ที่ใช้เป็นอาหารให้แก่นักอวกาศ ที่อยู่ในสถานีอวกาศนอกโลกมาแล้ว

หมายเหตุ: ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่บุคคล